วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บอกฉันซิ ใครคือผู้สร้าง?



เปิดตัวทฤษฎีวิวัฒนาการ
          ตลอดช่วงเวลาที่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ยังล้าสมัย การอธิบายการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตนั้น เป็นแค่เพียงผลิตผลจากกระบวนการเกิดขึ้นอย่างไร้ระบบ จนมีกลุ่มคนสร้างข้อสันนิษฐานไปว่า สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างแบบง่ายๆ ซึ่งคนกลุ่มนั้น ถูกรู้จักในนาม “นักวิวัฒนาการ”
          บนโลกใบนี้ ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตหลายๆล้านสายพันธุ์ ทุกๆสายพันธุ์ล้วนแสดงเอกลักษณ์เฉพาะของมัน จนเกิดข้อคำถามขึ้นว่า สิ่งมีชีวิตที่มีรูปลักษณ์และพฤติกรรมแตกต่างกันนี้ พวกมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ใครกันแน่ เป็นผู้สร้างมันมา?  หากพิจารณาด้วยสติปัญญาและใช้เหตุผลอย่างถูกต้องแล้ว จะเห็นว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั้น ต่างมีระบบการทำงานที่สมบูรณ์แบบและเป็นสิ่งถูกสร้างที่เป็นสุดยอดของสุดยอดแล้ว
          อย่างไรก็ตาม มีทฤษฎีหนึ่งได้อธิบายการเกิดมาของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งมีชีวิตอีกชนิดอย่างไร้ระบบและไร้แบบแผนที่แน่นอน โดยที่สิ่งมีชีวิตชนิดแรกนั้นเกิดขึ้นมาเองโดยปราศจากผู้ควบคุม ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า “ทฤษฎีวิวัฒนาการ”
          คนแรกๆที่ได้เสนอแนวคิดการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้น คือ นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส นามว่า จอห์น แบปทิสต์ ลามาร์ก (Jean Baptist Lamarck) ซึ่งแนวคิดของเขาผู้นี้ มีต้นกำเนิดจากปรัชญากรีกโบราณ ลามาร์ก ได้ให้ข้อเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)” ตามความเข้าใจของลามาร์ก ยีราฟคอยาวๆนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสัตว์ที่ต้องยืดคอเพื่อเด็ดกินอาหารที่อยู่บนกิ่งไม้สูงๆ จนเวลาผ่านไป สัตว์เหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงโครงร่างคอกลายเป็นยีราฟอย่างปัจจุบัน  แต่จากผลการศึกษาทางพันธุศาสตร์ ได้ยืนยัน อย่างแน่ชัดแล้วว่า แนวคิดข้างต้นของลามาร์กไม่มีเค้าความถูกต้องเลย
          คนถัดมาที่ปกป้องและสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด คือ นักธรรมชาติศึกษาชาวบรีเทน ชื่อ ชาร์ล ดาร์วิน (Charled Darwin) ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ “The Origin of Species” เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษก่อนหน้าที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อนน้อยกว่า ตามความคิดของดาร์วินนี้ ปลาวาฬเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหมีที่พยายามล่าอาหารในท้องทะเล 1
          การอธิบายข้างต้นของดาร์วิน เป็นเพียงแค่การคาดการณ์ที่ปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ด้วยเหตุนี้ ดาร์วินได้สารภาพถึงข้อผิดพลาดและข้อเสนอที่ยังไม่ได้รับการยืนยันในสมัยของเขาหลายๆประการ ดังที่ปรากฏในบท “Difficulties on Theory”ในหนังสือที่เขาได้เขียนไว้ ซึ่งเขาคาดหวังว่า เมื่อความรู้วิทยาศาสตร์ ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องหาได้พัฒนายิ่งขึ้น ผลการอธิบายของเขาจะถูกพิสูจน์ความถูกต้องได้ แต่ผลกลับตรงกันข้าม เมื่อช่วงเวลาที่ดาร์วินได้รอคอยมาถึง วิทยาศาสตร์ได้หักล้างข้อทำนายของเขาไปที่ละข้อ ทีละประเด็น หนึ่งในนั้น คือ ผลจากการศึกษาระดับโมเลกุลได้เปิดเผยไว้ว่าสิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างเซลล์สลับซับซ้อน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่มันจะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญตามคำกล่าวของดาร์วิน
         

 ต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
        นักวิวัฒนาการลงความเห็นว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถพัฒนาโครงสร้างร่างกายอย่างช้าๆ จนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาได้ ซึ่งการทำนายลักษณะนี้เข้ากรอบการพยากรณ์ที่ไม่มีมูลเหตุที่ต้องเชื่อถือ อีกทั้งยังขัดแย้งกับกฎพื้นฐานทางชีววิทยา
          หลายคนอาจจะยังคงสงสัยว่า “เป็นไปได้หรือ ที่มนุษย์อย่างเราๆ นี้ มีบรรพบุรุษเป็นมนุษย์วานร (Apes man)” ตามการชวนเชื่อของนักวิวัฒนาการ ทั้งที่จริงแล้วระหว่างสองสิ่งมีชีวิตมีข้อแตกต่างมากมาย จนไม่สามารถมาเปรียบให้คล้ายกันได้ หรือแม้กระทั่งว่า มนุษย์วานร เองนั้นเคยเกิดขึ้นจริงบนโลกนี้หรือเปล่า?
          แต่คำถามที่ยังคงรอคำอธิบายจากนักวิวัฒนาการ คงไม่เพียงแค่เท่านี้ ซึ่งแน่นอนยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังคงรอความกระจ่างอยู่ ซึ่งหนึ่งในคำถามที่มีคนฉงนใจมากที่สุด คือประเด็นของ “ต้นกำเนิดแรกสุดของสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นได้อย่างไร?”
          นักวิวัฒนาการได้ให้คำตอบต่อคำถามดังกล่าวไว้ว่า สิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตในระดับเซลล์ ซึ่งเซลล์นี้ เกิดจากสสารที่ไม่มีชีวิตอีกต่อหนึ่ง กล่าวคือ ช่วงต้นๆของโลก ก่อนที่สิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้น โลกในช่วงนั้นประกอบด้วยหิน เม็ดทราย กลุ่มแก๊ส กระจัดกระจายกันไปทั่ว แต่เมื่อมีลมเกิดขึ้น มันสามารถพัดพาวัตถุต่างๆให้มารวมกลุ่มกัน บวกกับมีเม็ดฝน และแสงแดดในอัตราส่วนที่พอเหมาะจนเกิดกลุ่มเซลล์ขึ้นมา จึงกลายเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และมันสามารถพัฒนาตัวเองเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้นไปได้
          คำอธิบายในลักษณะดังกล่าวคงไม่สามารถทำให้คนที่มีสติปัญญา ยอมรับได้เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังขัดกับกฎการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ต้องมาจากสิ่งมีชีวิตด้วยกันเท่านั้น
          ความเชื่อที่ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตได้รู้จักในชื่อทฤษฎี “Spontaneous generation” ตามทฤษฎีนี้ เชื่อว่า หนูเกิดจากถังข้าวสาร หรือเนื้อเน่าๆสามารถเกิดแมลงขึ้นได้ ฯลฯ ซึ่งความเชื่อลักษณะนี้ถูกยอมรับโดยทั่วไป ตลอดช่วงเวลาที่ดาร์วินได้อุปโลกษ์ทฤษฎีนี้ขึ้น
          ผลจากการศึกษาวิจัยของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Paster) นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ทำให้การทำนายของดาร์วินพังลง เมื่อเขาได้ยืนยันไว้ว่า “คำอ้างที่ว่า สสารไม่มีชีวิตคือต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นได้ถูกเผาไหม้ในประวัติศาสตร์ไปแล้ว” 2
          แม้ว่าผลการศึกษาของปาสเตอร์ และผลการวิจัยและการทดลองที่ถูกเปิดเผยได้ศตวรรษที่ 20เป็นที่ประจักษ์ชัดไปแล้วว่า “การจัดรูปแบบของสิ่งมีชีวิต ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญถึงแม้จะใช้ห้องปฏิบัติการทดลองที่ล้ำหน้าแค่ไหนก็ตาม”แต่นักวิวัฒนาการก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาเชื่อว่า ต้นกำเนิดของซึ่งมีชีวิตต้องเกิดขึ้นเองได้โดยบังเอิญ
          คงไม่ต้องอธิบายรายละเอียดของการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตไปมากกว่านี้ เนื่องจากว่าทฤษฎีนี้มันได้ดับลงตั้งแต่การอธิบายต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตไปแล้ว ดังคำยอมรับของ ศาสตราจารย์ เจฟเรย์ บาดา (Jeffrey Bada) ศาสตราจารย์ทางชีวโมเลกุล หนึ่งในผู้สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการ
          “ถึงตอนนี้เราได้ผ่านศตวรรษที่20 ไปแล้ว แต่เราก็ยังคงเจอปัญหาที่หนักอึ้ง คล้ายกับก่อนการมาของศตวรรษที่20 คือ สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาบนโลกได้อย่างไร?” 3
          ในขณะที่ทฤษฎีวิวัฒนาการยังคงสาละวนอยู่กับปัญหาการเกิดของสิ่งมีชีวิต แต่เรากับค้นพบคำตอบไว้ว่า สิ่งมีชีวิตต้องเกิดจากพระเจ้า ผู้สร้างสิ่งมีชีวิต จากวัตถุสารที่ไม่มีชีวิต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ดังคำเปิดเผย ในคัมภีร์กรุอาน บทอัรรูม โองการ 19 ไว้ว่า
يُخْرِجُ الْحَيَّ مِنَ الْمَيِّتِ وَيُخْرِجُ الْمَيِّتَ مِنَ الْحَيِّ وَيُحْيِي الْأَرْضَ بَعْدَ مَوْتِهَا ۚوَكَذَٰلِكَ تُخْرَجُون
          ความว่า “พระองค์ทรงให้มีชีวิตหลังจากการตาย และทรงให้ตายหลังจากมีชีวิต และทรงให้แผ่นดินมีชีวิตชีวาขึ้น หลังจากการแห้งแล้งของมัน และเช่นนั้นแหละพวกเจ้าจะถูกนำออกมา

 โลกของโปรตีนโมเลกุล
          ตอนนี้ เรามาวางคำถามเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตไว้ก่อน เอาเป็นว่า เราจะตั้งคำถามที่ง่ายกว่านั้นอีก ซึ่งก็คือ โปรตีนโมเลกุลแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร? แต่แล้วคำตอบจากนักวิวัฒนาการก็ยังคงซ่อนเงื่อนต่อไป
          โปรตีนโมเลกุลที่เราจะพูดถึงต่อไปนี้ ถือว่ามันมีความสำคัญ และสร้างคุณูปการณ์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมากมาย เนื่องจากเส้นใยโปรตีนที่เรียงต่อกันอย่างเป็นระบบนั่น จะเกิดเป็นเซลล์ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ถ้าเปรียบเซลล์เป็นตึกสูงระฟ้า โปรตีนโมเลกุลก็เป็นอิฐบล็อกที่ต่อกันตั้งแต่ฐานตึก จนถึงยอดตึก และก็จะปกคลุมทั่วทั้งตึกเลยทีเดียว และแม้ว่ามันจะมีโครงสร้างและรูปแบบไม่ตายตัวเหมือนก้อนอิฐ แต่อย่างไรก็ตาม เซลล์สิ่งมีชีวิตพื้นฐานที่สุด ก็ยังคงประกอบด้วยโปรตีนโมเลกุลที่แตกต่างกันถึง 2,000 กว่าชนิด ถ้าเกิดว่าเซลล์สามารถอยู่รอดได้ หมายความว่า เราก็ต้องขอบคุณโปรตีนโมเลกุล ที่ช่วยถักทอต่อกันอย่างมีระบบจนกลายเป็นเซลล์ขึ้นมาได้
          โปรตีนยังมีหน่วยย่อยที่มีขนาดเล็กกว่ามันอีกหลายๆเท่าเป็นองค์ประกอบ อาจอยู่ในรูปของโครงสร้างหรือโมเลกุล ที่เรียกว่า “กรดอะมิโน” ซึ่งกรดอะมิโนนี้ถูกร้อยเรียงด้วยอะตอมของคาร์บอน ไนโตรเจน และไฮโดรเจนหลายๆอะตอมเข้าด้วยกัน ในเซลล์เพียงแค่หนึ่งเซลล์  จะประกอบด้วย    กรดอะมิโนถึง 500-1,000 โมเลกุล หรืออาจจะมากกว่านั้น
          ประเด็นที่สำคัญก็คือ การที่โปรตีนโมเลกุลจะเกิดขึ้น ต้องเกิดจากการจัดเรียงของกรดนิวคลีอิกที่เป็นระบบ และแม่นยำ หากแม้นว่า กรดนิวคลีอิกเกิดการเรียงตัวที่ผิดที่ผิดทางหรือมันถูกดึงออกไปแม้เพียงโมเลกุลเดียวละก็ โปรตีนโมเลกุลจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนี้จะประกอบด้วยกรดนิวคลีอิกที่แตกต่างกันอยู่ 20 ชนิด และข้อมูลการจัดเรียงของมันถูกเก็บไว้ในแหล่งบรรจุข้อมูลรวมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “ดีเอ็นเอ” ซึ่งอยู่ภายในเซลล์นั่นเอง
          ตามเนื้อหาในทฤษฎีวิวัฒนาการได้บ่งชี้ว่า โปรตีนสามารถเกิดขึ้นได้เองด้วยความ “บังเอิญ” แต่จากการคำนวณตามหลักสถิติ พบว่า ความน่าจะเป็นที่กรดอะมิโนสามารถเรียงตัวเองกลายเป็นโปรตีนโมเลกุลได้ถูกต้องและแม่นยำ มีค่าเท่ากับ 1 ใน 10950 5  ซึ่งหมายถึง 1 ใน 1ตามด้วยศูนย์ 950ตัว ซึ่งในทางคณิตศาสตร์แล้ว เพียงแค่ 1 ใน 1050 ก็ถือว่าไม่มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นได้เลย
         
          จริงๆแล้ว นักวิวัฒนาการตามก็รับรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวตลอดเวลา ดั่งที่มีนักวิวัฒนาการชื่อดังคนหนึ่งนาม ฮารอลด์ บลัม (Harold Blum) ออกมายอมรับว่า “ความเป็นไปได้ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงแบบอย่างช้าๆของสายโพลิเปปไทด์เส้นเล็กที่สุด ที่รู้จักในชื่อ “โปรตีนโมเลกุล”นี้ อยู่นอกเหนือความเป็นจริง” 6
          ซึ่งข้อสรุปทั้งหมด อยู่ในคำกล่าวของเพียร์รี รีฟส์ (Peery Reeves) ศาสตราจารย์ทางเคมี
          “การตรวจสอบโครงสร้างต่างๆที่คาดหวังว่ามันเกิดขึ้นมาด้วยความบังเอิญจากการรวมตัวของกรดอะมิโนที่กระจัดกระจายภายในช่วงเวลาแรกเริ่มของโลกนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก และมีความสมเหตุสมผลมากกว่าการตรวจสอบอาคารๆใหญ่ที่ออกแบบจากผู้ที่เชี่ยวชาญโดยตรง”7

                                      ความมหัศจรรย์การสร้างสรรค์เซลล์
          สิ่งมีชีวิตทั้งหมดจำเป็นต้องมีเซลล์ และเซลล์นี้มีระบบการทำงานที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพหาผู้มาเลียนแบบได้ยาก อีกทั้งยังสามารถผลิตอาหาร เคลื่อนตัว และสื่อสารระหว่างเซลล์อื่นๆได้ ระบบทั้งหมดนี้ถูกสร้างและควบคุมจากผู้ที่มีความสามารถสูงสุดเพียงผู้เดียวเท่านั้น
          ถ้ามีคนมาบอกกับเราว่า เซลล์หรือโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้น เกิดขึ้นมาเองโดยความบังเอิญ ทั้งๆเราและเขาต่างก็ทราบกันดีว่า ภายในองค์ประกอบของเซลล์เพียงหนึ่งเซลล์มีความสลับซับซ้อนและมีระบบการจัดการชั้นยอดเลยทีเดียว เปรียบได้กับว่ามีสถานีพลังงาน โรงงานการผลิตใหญ่ๆ แหล่งเก็บเงินขนาดบิ๊กๆหลายแห่ง ระบบการสำรองข้อมูลที่ทันสมัย และระบบการขนส่งที่ล้ำหน้า ในนั่นเลยทีเดียว
          เนื่องจากในสมัยดาร์วิน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้ดาร์วิน และบรรดานักวิวัฒนาการในสมัยนั้นมีความเชื่อว่า เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างง่ายๆมาก คล้ายกับ ก้อนแข็งๆทึบๆ มีน้ำปนอยู่เล็กน้อย ซึ่งเซลล์ที่มีลักษณะดังกล่าว มีความเป็นไปได้สูง จะเกิดขึ้นเองด้วยความบังเอิญ
          เมื่อศตวรรษ 20 ได้คืบคลานเข้ามา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิทยาศาสตร์ได้เจริญรุดหน้า ณ ตอนนี้เครื่องมือเครื่องหา พร้อมที่จะศึกษา สำรวจ องค์ประกอบภายในเซลล์แล้ว และผลจากการศึกษาพบว่า เซลล์สิ่งมีชีวิตมีความสลับซับซ้อน และแสดงถึงการถูกออกแบบอย่างประณีตสวยงาม ซึ่งเป็นไปไปไม่ได้ ที่จะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญหรือถูกเลียนแบบด้วยน้ำมือของมนุษย์ ดังที่ ศาสตราจารย์ เฟรด ฮอย์เล่ (Fred Hoyle) นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวบรีทีช ได้ออกมาเปรียบเทียบไว้ว่า
          “โอกาสที่สิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นมาด้วยความบังเอิญนี้ เปรียบได้กับโอกาสที่พายุทอร์นาโดสามารถพัดเอาเศษวัสดุต่างๆมารวมกันเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 747 จากเศษวัสดุนั้น” 9
                จากข้อเสนออื่นๆ ฮอยล์ ได้กล่าวว่า “แทนที่ทฤษฎีการอธิบายการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากอัจฉริยะแห่งการสรรสร้าง จะได้รับความยอมรับมากกว่าการอธิบายสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เอง ซึ่งเต็มไปด้วยการสร้างคำชวนเชื่อมากกว่าการอ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์” 10
               


รหัส (ลับหรือไม่ลับ)พันธุกรรม
          คุณทราบหรือไม่ว่า นิวเคลียสขนาดเล็กกระจิดริดที่อยู่ภายในเซลล์แต่ละเซลล์ ซึ่งมีทั้งหมดล้านล้านกว่าเซลล์ นั่น แต่ละอันสามารถบรรจุข้อมูลของร่างกายสิ่งมีชีวิตเทียบได้มากกว่าสารานุกรม 900เล่ม?
          ดีเอ็นเอ เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ซ่อนตัวภายในนิวเคลียสของแต่ละเซลล์ ซึ่งมันเป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูลต่างๆของร่างกายสิ่งมีชีวิตไว้เป็นสัดส่วน ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของสิ่งมีชีวิต ลักษณะของตาและสีของมัน ส่วนสูง ความยาว ข้อมูลการทำงานทั้งหมดภายในเซลล์ ทั้งหมดนี้ถูกลงรหัสไว้บน“ยีน”ที่อยู่ในดีเอ็นเอ
          รหัสที่ถูกเรียงในดีเอ็นเอนี้ ประกอบด้วยเบสสี่ชนิด ซึ่งถ้าเปรียบเบสแต่ละชนิดเป็นตัวอักษรแล้วละก็ ดีเอ็นเอก็คือธนาคารข้อมูลที่ต่อกันด้วยตัวอักษรเบสทั้งสี่ตัวที่ยาวเหยียดขดไปขดมาเป็นสายโช่ ซึ่งในนั่นเต็มไปด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับทุกสิ่งที่แสดงลักษณะของสิ่งมีชีวิต
          ถ้าเราต้องการนำข้อมูลของดีเอ็นเอมาเขียนลงบนกระดาษแล้วละก็ เราคงต้องใช้กระดาษประมาณล้านกว่าแผ่น หรือมากกว่าหนังสือสารานุกรมบีทานนีกา (The Encyclopaedia Britannica) อยู่ 40 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่มหาศาลมาก ที่ถูกบรรจุไว้ในนิวเคลียสเล็กมากๆภายในเซลล์ มีขนาดเพียงแค่ 1 ส่วน 1,000 ของมิลลิเมตร (คือ 1 มิลลิเมตร แบ่งอีก 1,000ส่วนเอาเฉพาะ 1 ส่วน)
          เราลองคิดดูว่า ถ้าเราตักสายโซ่ดีเอ็นเอลงไปในช้อนชา 1 ช้อนโต๊ะ ข้อมูลที่ถูกบรรจุในนั่นจะมีมากกว่าหนังสือทั้งหมดในโลกนี้มารวมกันเลยทีเดียว (โปรดติดตามฉบับสมบูรณ์ พร้อมภาพประกอบได้เร็วๆนี้)
              ดาวน์โหลดที่ : http://www.mediafire.com/?2icl2tc6d4l5m9k

 อ้างอิง
1) Charles Darwin, The Origin of Species: A Facsimile of the First Edition, Harvard University Press, 1964, p. 184
2) Sidney Fox, Klaus Dose, Molecular Evolution and The Origin of Life, New York: Marcel Dekker, 1977. p. 2
3) Jeffrey Bada, "Origins", Earth, February 1998, p. 40
4) Leslie E. Orgel, "The Origin of Life on Earth", Scientific American, Vol 271, October 1994, p. 78
5) Please see Harun Yahya, The Evolution Deceit, Ta Ha Publishers, 1999, p. 93
6) W. R. Bird, The Origin of Species Revisited. Nashville: Thomas Nelson Co., 1991, p. 304
7) J. D. Thomas, Evolution and Faith. Abilene, TX, ACU Press, 1988. p. 81-82
8) Ali Demirsoy, Kalıtım ve Evrim (Inheritance and Evolution), Ankara: Meteksan Yayınları, 1984, p. 64
9) "Hoyle on Evolution", Nature, Vol 294, 12 November 1981, p. 105
10) Fred Hoyle, Chandra Wickramasinghe, Evolution from Space, New York, Simon & Schuster, 1984,  p. 130

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น