วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต


อ. ชารีฟ วงศ์เสงียม
               ถ้าใครคนใดคนหนึ่งได้สำรวจตรวจสอบจักรวาลที่เขาได้อาศัยอยู่นี้ดูก็จะพบว่าจักรวาลนี้มีกาแล็คซี่ถึง 250,000 ล้านกาแล็คซี่ซึ่งในแต่กาแล็คนี้จะประกอบไปด้วยดาวอีกจำนวนมากมายถึง 300,000 ล้านดวง และสิ่งทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นกาแล็คซี่หรือดวงดาวอันกว้างใหญ่ไพศาลทั้งหมดนี้นั้นหมุนเวียนและล่องลอยไปตามกฎเกณฑ์แบบแผนที่แน่นอนและตายตัว
          ถ้ามองดูแล้วเราก็จะพบว่าในทุกๆส่วนของจักรวาลนี้ จะมีระเบียบแบบแผนตลอดจนความสมดุลอยู่อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อบกพร่องอยู่เลย
          โลกนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เล็กกระจิ๋วหลิวเมื่อเทียบกับจักรวาลทั้งหมดแล้วแต่กระนั้นโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ถูกสร้างและออกแบบมาอย่างยอดเยี่ยมพร้อมเพียงไปด้วยระบบการทำงานที่เต็มไปด้วยความสมดุลที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนเป็นอย่างมากโลกเรานี้ไม่เหมือนดวงดาวดวงอื่นๆเพราะโลกเรานี้มีสภาพชั้นบรรยากาศและพื้นผิวที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตที่จะสามารถอยู่อาศัยได้ น้ำซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นผิวโลกนี้ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิต ระดับอุณหภูมิ อัตราการโคจรตลอดจนพื้นผิวของโลกทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าโลกใบนี้ได้
                หนังสือเล่มนี้ของดาร์วินได้เป็นที่นิยมโดยทันทีหลังจากออกพิมพ์ แต่การได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักกันของหนังสือเล่มนี้ มิใช่เพราะว่าดาร์วินเขียนมันขึ้นมาโดยอาศัยจากข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แต่ที่หนังสือเขาได้รับการยอมรับก็เพราะ มันเป็นเพียงการยอมรับกันในทางแนวความคิดเสียมากกว่า แนวความคิดของดาร์วินนี้ช่วยในการสนับสนุนและเป็นข้ออ้างอิงของ พวกยึดถือปรัชญาวัตถุนิยมที่ปฎิเสธการมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า และคารล์มารซ์(Karlmarx) ผู้ตั้งลัทธิวัตถุนิยมวิภาษได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อ DasKapital ขึ้นมา เพื่ออุทิศให้แก่ ดาร์วิน  เขาเขียนที่ปกหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า  “ถึงชาร์ลส์ ดาร์วิน , จากผู้เลื่อมใสผู้อุทิศตัวให้”  ทฤษฎีของดาร์วินอ้างเหตุผลว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นมานี้นั้นมาจากบรรพบุรุษเดียวกันโดยผ่านขบวนการและขั้นตอนแบบค่อยๆ วิวัฒนาการไปเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ดาร์วินก็ไม่สามารถหาหลักฐานข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนข้ออ้างของตนเองได้เลย จริงๆแล้ว ดาร์วินรู้ตัวเขาเองดีถึงหลักฐานข้อเท็จจริงหลายๆอย่างที่จะทำให้ทฤษฎีความเชื่อของเขาต้องเป็นโมฆะไป ดาร์วินได้ กล่าวยอมรับไว้ใน หนังสือที่เขาเขียนขึ้นในบทที่มีชื่อว่า “Difficulties on Theory” ปัญหาและความยุ่งยากที่ทฤษฎีนี้จะต้องเผชิญ  แต่ดาร์วินก็หวังว่าปัญหาต่างๆของทฤษฎีการวิวัฒนาการเหล่านี้จะหมดไปด้วยกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นมาในภายหลัง  แต่ในทางตรงกันข้าม ด้วยกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์  จึงทำให้ทฤษฎีที่ดาร์วินกล่าวอ้างนี้กลับถูกหักล้างลงไปทีละข้อทีละข้อ
          ดาร์วินกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยผ่านขบวนการและขั้นตอนแบบค่อยๆวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ
          แต่ทว่าสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกกำเนิดมาจากไหนกันเหล่า?    ดาร์วินไม่ได้กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เลยในหนังสือของเขา เขาไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าสิ่งนี้แหละที่จะเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ทฤษฎีของเขาดังกล่าวต้องเป็นโมฆะไป
          เดิมทีแล้ว วิทยาศาสตร์ในสมัยของดาร์วินมีความเชื่อกันว่า สิ่งมีชีวิตนั้นมีลักษณะโครงสร้างองค์ประกอบที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนอะไรมาก มีความเชื่อที่เชื่อกันไปตาม ทฤษฎีหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า  " Spontaneous Generation" นั้นคือ การกำเนิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ มันเป็นทฤษฎีที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคกลาง  ตามทฤษฎีนี้แล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายสามารถเกิดขึ้นมาได้โดยง่ายจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต
          มีความเชื่อกันไปว่า กบเกิดขึ้นมาเองจากโคลน และแมลงก็เกิดขึ้นมาจากอาหารที่กินเหลือเอาไว้ และก็ได้มีการทดลองพิสูจน์โดยมีจุดประสงค์ที่จะมาสนับสนุนทฤษฎีหรือแนวความเชื่อเช่นนี้ โดยได้มีการนำเอาเมล็ดข้าวสาลีกำมือหนึ่งไปทิ้งไว้ในเศษผ้าโดยหวังว่าจะมีหนูเกิดขึ้นมาจากการนำของสองสิ่งนั้นมาผสมกัน และก็ได้มีการนำตัวอ่อนที่เกิดขึ้นมาจากเนื้อมาเป็นข้อกล่าวอ้างโดยกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตสามารถกำเนิดขึ้นมาได้จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่ต่อมาในภายหลังก็เป็นที่รู้และเข้าใจกันแล้วว่าตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจากเนื้อนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติตามที่เข้าใจกันแต่อย่างใด แต่มันเกิดขึ้นมาจากตัวอ่อนที่ไม่สามารถมองเห็นที่แมลงวันนำไปปล่อยไว้ที่เนื้อนั้นและในสมัยของดาร์วิน มีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าจุลินทรีย์สามารถเกิดขึ้นมาได้โดยง่ายจากวัตถุหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิต
          แต่แล้ว 5 ปีหลังจากที่ได้มีการพิมพ์หนังสือ Origin of Species (แหล่งกำเนิดและที่มาของสิ่งมีชีวิต ) ของดาร์วินนี้ขึ้น  นักชีววิทยาผู้มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส Louis Pasteur  (หลุยส์ปาสเตอร์) ก็ได้พิสูจน์หักล้างความเชื่อเช่นนั้นที่เป็นพื้นฐานความเชื่อของทฤษฎีการวิวัฒนาการของดาร์วิน โดยหลุยส์       ปาสเตอร์ได้พิสูจน์ให้เห็นทางวิทยาศาสตร์หลังการที่เขาได้ทำการศึกษาวิจัยและทดลองมาเป็นเวลานาน โดยที่เขาก็ได้ข้อสรุปที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเขากล่าว่า
         วัตถุสสารหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตจะสามารถให้ชีวิตแก่ตัวเองได้จริงหรือ? เป็นไปไม่ได้เลย ปัจจุบันนี้เป็นที่รู้กันแล้วว่าไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดๆก็แล้วแต่สิ่งมีชีวิตไม่ว่า จะเล็กกระจิดริดแค่ไหนก็ตามไม่สามารถเกิดขึ้นมาเองได้นอกจากว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะต้องมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ให้กำเนิดมันขึ้นมา” ( Louis pasteur ,Fox and Dose, Origin of Life,p.,4-5) 
          นักทฤษฎีวิวัฒนาการคนแรก ที่ได้หยิบยกปัญหาเรื่องแหล่งกำเนิดและที่มาของสิ่งมีชีวิตขึ้นมากล่าว ในศตวรรษที่ 20 นี้ก็คือ นักชีววิทยาชาวรัสเซียซึ่งมีเชื่อว่า  Alexander Oparin  จุดมุ่งหมายของเขาก็เพื่อที่จะอธิบายให้รู้ว่าเซลของสิ่งมีชีวิตชนิดแรกนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งตามทฤษฎีการวิวัฒนาการนี้ได้มีการกล่าวว่าเซลล์ตัวแรกนี้แหละที่เป็นที่มาหรือบรรพบุรุษของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้น   แต่อย่างไรก็ตามความพยายามของเขาก็ต้องจบลงด้วยกับความล้มเหลวและตัวของ Oparin เองก็ต้องกล่าวยอมรับว่า
         เป็นที่น่าเศร้าใจที่จุดกำเนิดและที่มาของเซลล์ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ต่อไปซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันเป็นด้านที่มืดมนที่สุดของขบวนการและขั้นตอนทางทฤษฎีการวิวัฒนาการ” (Alexander Oparin, Origin of Life, p.196)
          นักวิวัฒนาการที่มาหลังจาก Oparin ก็ได้ทำการทดลองเช่นกันทั้งนี้ก็เพื่อที่จะหาคำตอบถึงแหล่งกำเนิดและที่มาของสิ่งมีชีวิตเพื่อที่จะได้มาสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของพวกเขานี้
          นักเคมีชาวอเมริกาที่มีนามว่า  Stanley Miller สแตนเล่ มิลเลอร์ ได้ทำการทดลองที่เป็นที่รู้จักโด่งดังกันที่สุด ในปี 1953 โดยที่  Miller ได้นำเอาโมเลกุลจำนวนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตมา โดยทำการกระตุ้นปฎิกริยาโต้ตอบต่อแก๊สชนิดต่างๆที่เขาอ้างว่ามีอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกในช่วงแรกเริ่ม  ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นการทดลองนี้ถือว่าเป็นบทพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ถึงทฤษฎีของการวิวัฒนาการ แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย จากการค้นพบในตอนหลังนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า แก๊สต่างๆที่ใช้ในการทดลองนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับแก๊สต่างๆที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศในช่วงเริ่มแรกของโลก และในที่สุดตัวของ Miller เองก็ต้องออกมายอมรับถึงความล้มเหลวและความเป็นโมฆะของการทดลองของเขาในครั้งนี้
          จากความพยายามทั้งหลายของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่มีขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อที่จะมาอธิบายถึงแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตก็ต้องจบลงด้วยความล้มเหลว
          Jeffrey Bada ศาสตราจารย์ในด้านภูมิศาสตร์เคมีและผู้สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการตัวยงก็กล่าวยอมรับถึงความจริงอันนี้ในนิตยาสาร Earth ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1998 ซึ่งเป็นหนึ่งในนิตยาสารชั้นนำทางด้านสิ่งตีพิมพ์ของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยที่ Jeffrey Bada ได้กล่าว่า
          "ในวันนี้ในขณะที่เราจะจากศตวรรษที่ 20 ไป เราก็ยังคงอยู่กับปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่ยังหาทางออกไม่ได้อยู่ เหมือนกับตอนที่เราเริ่มเข้ามาสู่ศตวรรษที่ 20 นั้นคือ ปัญหาที่ว่า  สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้อย่างไรกัน?" ( Jeffrey bada, Earth, Feb,1998)
                ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกปัญหาหนึ่งที่ ทฤษฎีวิวัฒนาการนี้กำลังเผชิญอยู่และก็ยังหาทางออกไม่ได้ ก็คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างอันซับซ้อนอย่างเหลือเชื่อของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ทุกชนิดจะประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีขนาดเล็กเท่ากับหนึ่งในร้อยของมิลลิเมตร และมีสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบไปด้วยเซลล์เดียวแต่กระนั้นถึงแม้จะประกอบไปด้วยเซลล์เดียวก็ตามแต่องค์ประกอบที่มีอยู่ในเซลล์นี้ก็มีลักษณะที่น่าซับซ้อนอย่างน่าทึ่งในตัวของมันเอง  มันมีระบบการปฏิบัติงานอันซับซ้อน เพื่อที่จะทำให้มันดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้และที่ยิ่งไปกว่านี้มันก็ยังมีสิ่งที่อาจเรียกว่าเป็นตัวมอเตอร์ตัวเล็กนิดเดียวที่ช่วยในการขับเคลื่อนมัน
          ในสมัยของดาร์วิน ลักษณะโครงสร้างอันซับซ้อนของเซลล์นี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากกล้องจุลทรรศน์ที่ยังไม่มีความเจริญเท่าที่ควรในสมัยนั้น  จึงทำให้เซลล์มองดูเหมือนไม่มีลักษณะอะไรพิเศษเฉพาะตัว แต่อย่างไรก็ตามด้วยกับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนที่มีกำลังสูงที่ประดิษฐ์ขึ้นมาในตอนกลางของศตวรรษที่ 20 นี้จึงทำให้เราเริ่มรู้และเข้าใจว่าจริงๆแล้วเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมีระบบการทำงานที่น่าซับซ้อนถึงเพียงไร สิ่งนี้ได้เผยให้เห็นถึงความซับซ้อนตลอดจนการทำงานกันอย่างมีระบบของเซลล์ที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ
          เซลล์ที่มีชีวิตเพียงตัวเดียวจะประกอบไปด้วยส่วนเล็กๆ เป็นพันๆ ส่วนที่ทำงานกันอย่างสอดคล้องสามัคคีกันถ้าจะเปรียบก็เปรียบได้ว่า ภายในเซลล์ตัวเดียวนี้จะมีทั้งสถานีพลังงานไฟฟ้า โรงงานต่างๆอันทันสมัยที่ใช้ทำหน้าต่างๆ และหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อน ระบบเก็บรักษาที่มีขนาดใหญ่มาก โรงกลั่นกรองที่ทันสมัย ตลอดจนมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่ดูเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถรับรู้อะไรได้ ซึ่งเยื้อหุ้มเซลล์นี้จะทำหน้าที่ควบคุมสิ่งที่เข้าออกจากเซลล์
          เซลล์นี้จะสามารถมีชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้ก็ต่อเมื่อส่วนต่างๆที่มีอยู่ในตัวมันที่ใช้ในการปฏิบัติการ จะต้องเกิดขึ้นมาพร้อมๆกันเพียงเท่านั้นและมันก็เป็นไปไม่ได้เลยที่ระบบการทำงานของเซลล์ที่น่าซับซ้อนละเอียดอ่อนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นมาเนื่องมาจากความบังเอิญ แม้กระทั้งในปัจจุบันนี้ห้องแลบวิทยาศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยที่สุด ก็ยังไม่มีความสามารถที่จะผลิตเซลล์ที่มีชีวิตขึ้นมาจากสิ่งที่ไร้ชีวิตได้เลยแม้แต่สักตัวเดียว จริงๆแล้วมันก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างแน่นอนว่าสิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้และความอุตสาหะที่จะยังพยายามผลิตเซลล์ที่มีชีวิตจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตเหล่านั้นก็ล้มเลิกไป
          แต่กระนั้นทฤษฎีการวิวัฒนาการก็ยังกล่าวอ้างว่า ระบบการทำงานของเซลล์ที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นมาเองจากความบังเอิญ ซึ่งความเป็นจริงแล้วระบบการทำงานของเซลล์นี้ที่แม้แต่มนุษย์ผู้พร้อมไปด้วยสติปัญญาความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ยังไม่มีความสามารถที่จะลอกเลียนแบบได้เลย    Sir Fred Hoyle ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้กล่าวอธิบายบอกถึงความเป็นไปไม่ได้ที่เซลล์จะกำเนิดเกิดขึ้นมาเอง โดยเขาได้ยกตัวอย่างว่า
         ความเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตในชั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นมาเองด้วยความบังเอิญนั้นก็อาจจะเปรียบได้กับความเป็นไปได้ที่พายุโทนาโดจะพัดผ่านเข้ามายังกองเก็บของและวัสดุเก่าแล้วกลายไปเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 747 จากวัสดุที่อยู่ในกองเก็บของเก่านั้นได้” (Fred Hoyle, Naturer,12 พฤศจิกายน)
          ในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ด้านเคมีวิทยาของสิ่งมีชีวิตก็ได้บอกเปิดเผยให้รู้ไว้เช่นกันถึงลักษณะทางด้านโครงสร้างและการปฏิบัติงานอันซับซ้อนที่สุดจะคิดได้ของโมเลกุล DNA ระบบทางด้านโครงสร้างของโมเลกุล DNA ได้ถูกค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 คน นั่นคือ James Watson และ Francic Crick ในปี 1955 จากการค้นพบของเขาทั้งสองนี้ก็บอกให้เรารู้ว่า สิ่งมีชีวิตนั้นมีระบบการทำงานที่น่าซับซ้อนเกินกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก
          Francic Crick ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบิลไพรซจากการค้นพบครั้งนี้  ถึงแม้ตัวของเขาเองจะเป็นนักทฤษฎีวิวัฒนาการอย่างฝังหัวก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยอมรับว่า โครงสร้างการทำงานเหมือนอย่าง  DNA นี้ ไม่มีวันที่มันจะเกิดขึ้นมาเองได้ด้วยความบังเอิญ DNA เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ รายละเอียดทั้งหมดของสรีระและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในส่วนที่เป็นเกลียวขดสองชั้นนี้  ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับองค์ประกอบทางด้านร่างกายของเราตั้งแต่สีในตาไปจนถึงระบบโครงสร้างของอวัยวะภายในของเราและสัดส่วนการปฏิบัติงานของเซลล์ของเราทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้จะถูกวางโปรแกรมไว้ในส่วนที่เรียกว่ายีนส์ใน DNA นี้
          รหัสของ  DNA จะประกอบไปด้วยลำดับการจัดเรียงฐานต่างๆที่แตกต่างกันไป ถ้าเราจะเปรียบเทียบฐานเหล่านี้ในรูปของตัวอักษรเราก็จะสามารถเปรียบ  DNA ได้กับฐานจัดเก็บข้อมูลที่ประกอบไปด้วยอักษร4ตัว ข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลนี้
          ถ้าเราจะลองเขียนข้อมูลที่มีอยู่ใน DNA ทั้งหมดนี้ลงบนกระดาษก็อาจจะต้องใช้กระดาษเป็นล้านๆหน้า และนี่ก็เท่ากับว่าต้องเขียนข้อมูลที่มีอยู่ใน DNA นี้ลงไปมากเสียกว่าสารานุกรม บริตานนิก้า(Britannica) ถึง40เท่า  ซึ่งสารานุกรมบริตานนิก้านี้ก็เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดสำหรับมนุษย์ที่มีอยู่
          แต่แหล่งข้อมูลของ DNA ที่น่าเหลือเชื่อนี้ก็ได้ถูกจัดเก็บไว้ในนิวเคลียสที่เล็กกระจิดริดของเซลล์ของเราซึ่งมีขนาดเล็กกว่าหนึ่งมิลลิเมตรถึงหนึ่งพันเท่า
          มีการคำนวณกันว่าสายของ  DNA ที่เล็กพอที่จะใส่ไว้ในช้อนชาได้นี้มีความสามารถที่จะบรรจุข้อมูลทั้งหมดของหนังสือทุกเล่มที่เขียนขึ้นมาในโลกนี้ได้
          แน่นอนที่สุดเป็นไปไม่ได้เลยที่ลักษณะโครงสร้างอันน่าอัศจรรย์ที่กล่าวมานี้ มันจะเกิดขึ้นมาจากความบังเอิญทฤษฎีการวิวัฒนาการ ซึ่งมองชีวิตว่าเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความบังเอิญที่ไร้จุดมุ่งหมาย ก็ต้องล้มเหลวหมดท่าไม่สามารถเปิดปากพูดอะไรได้เมื่อต้องเผชิญกับระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อของ DNA มันเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า DNA และเซลล์ต่างๆตลอดจนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนี้เป็นผลที่เกิดมาจากการสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยมและที่น่าสรรเสริญ และเมื่อมีการสร้างหรือมีสิ่งที่ถูกสร้างอยู่จริงก็แน่นอนที่สุดที่จะต้องมีผู้ที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาผู้ทรงพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดผู้ทรงรอบรู้และทรงเต็มเปี่ยมด้วยวิทยปัญญา
          เมื่อเราเฝ้ามองดูสิ่งมีชีวิตต่างๆที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่ว่าจะสิ่งใดก็ตามเราก็จะเห็นได้เลยว่าผู้ที่สร้างมันขึ้นมานี้ช่างมีอำนาจอันยิ่งใหญ่เสียจริงๆ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นล้านๆชนิดได้บ่งบอกถึงงานทางศิลปะและงานศิลปะทุกชนิดก็บ่งบอกให้รู้ถึงการมีอยู่ของนักศิลปะหรือจิตรกรผู้อยู่เบื้องหลังผลงานนี้ ผู้ซึ่งวาดมันขึ้นมา  และผู้อยู่เบื้องหลังงานศิลปะทั้งหลายที่มีอยู่ในธรรมชาตินี้ก็คือ พระเจ้าผู้ พระผู้อภิบาลแห่งโลกนี้และชั้นฟ้าทั้งหลายตลอดจนสิ่งที่มีอยู่ในระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน

ขั้นตอนและวิธีการที่ได้มาจากการจิตนาการในขบวนการทฤษฎีการวิวัฒนาการ

          การปั้นเรื่องขึ้นมาของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่ทำให้เห็นว่าชีวิต นั้นสามารถเกิดมาจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตนั้นได้ถูกหักล้างด้วยกับวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไปแล้ว นอกจากนั้นแล้วก็ไม่มีระบบหรือขั้นตอนการทำงานในธรรมชาติใดๆที่จะเป็นไปตามทฤษฎีการวิวัฒนาการตามที่ได้ถูกนำมากล่าวอ้างมา ไม่มีระบบโครงสร้างการทำงานทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตประเภทใดๆ ที่จากเซลล์ๆเดียวจะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือกลายไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้นจนกลายเป็นที่มาหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตอีกเป็นล้านๆชนิด
          ดาร์วินได้นำเสนอแนวความคิดเพียงอย่างเดียวที่จะมาเป็นตัวอธิบายระบบทางด้านการวิวัฒนาการของเขา และแนวความคิดนั้นก็คือ การเลือกสรรทางธรรมชาติ จากหนังสือที่เขาเขียนก็ทำให้เรารู้ว่าดาร์วินได้ให้ความสำคัญต่อแนวความคิดนี้เป็นอย่างมาก (The Origin of Species by Means of Natural Selection) แหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตโดยวิธีการสรรทางธรรมชาติ การเลือกสรรทางธรรมชาตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้ที่แข็งแรงที่สามารถปรับตัวเองได้ดีต่อสภาพแวดล้อมก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่นฝูงกวางที่ถูกไล่ล่าโดยสัตว์ล่าเหยื่อ กวางตัวที่วิ่งได้เร็วกว่าก็จะสามารถมีชีวิตรอดมาได้หลังจากนั้นกวางส่วนใหญ่ในฝูงก็จะมีแต่กวางตัวที่แข็งแรงและฉับไวเนื่องจากตัวที่เชื่องช้าและอ่อนแอกว่าก็จะตกเป็นเหยื่อไปหมดแล้ว
          แต่ถึงแม้ระบบความเป็นอยู่ทางธรรมชาติจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม แต่มันก็ไม่ได้ทำให้กวางต้องมีการวิวัฒนาการแต่อย่างใด มันไม่ได้เปลี่ยนกวางให้ไปเป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งเลย เช่นเปลี่ยนไปเป็นม้า การเลือกสรรทางธรรมชาตินี้ก็เป็นเพียงการกำจัดตัวที่ป่วยหรือพิการอ่อนแอออกไปและมันก็ยืนยันถึงการมีอยู่ต่อไปตลอดจนความสมบูรณ์แข็งแรงของสิ่งมีชีวิตอีกบางจำพวก และการเลือกสรรทางธรรมชาตินี้ก็ไม่ได้มีแรงผลักดันหรือเป็นตัวที่จะทำให้เกิดการวิวัฒนาการขึ้นมาได้
          ดาร์วินก็รู้ตัวดีถึงสิ่งนี้เช่นกันและนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ดาร์วินกล่าวยอมรับไว้ในหนังสือของเขา (The origin of species) แหล่งกำเนิดของชีวิต   โดยเขากล่าวว่า การเลือกสรรทางธรรมชาติไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เอื้ออำนวยและเหมาะเจาะที่จะเกิดขึ้นเองด้วยความบังเอิญในสิ่งมีชีวิต (Charles Darwin, The origin of Species, 1st, ed, p.177)
          ดาร์วินได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากเพื่อนร่วมสมัยของเขาคนหนึ่ง  ในแนวความคิดที่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถเกิดขึ้นมาเองและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของมันเองในสภาพการที่เหมาะสมและเอื้ออำนวย และเพื่อนร่วมสมัยของดาร์วินคนนั้นก็คือ  Lamarck  ลาร์มาค นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส
          Lamarck มีความเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่มีอยู่ไปสู่รุ่นต่อไปที่จะมีมาทีหลัง ในแนวความคิด ของ Lamarck นั้นยีราฟวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่คล้ายกวาง นั่นก็คือลำคอของสัตว์จำพวกนี้จะคอยๆยืดออกมาไปตามกาลเวลาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากมันพยายามที่จะเอื้อมไปกินใบไม้ที่อยู่บนกิ่งสูงๆ
          Lamarck ก็มีความเชื่อเช่นกันว่าถ้าแขนของคนในสมาชิกในครอบครัวถูกตัดออกเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน เด็กที่เกิดขึ้นมาใหม่ในภายหลังก็จะเริ่มแขนกุดหรือไม่มีแขน
          ดาร์วินผู้ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมา ก็ยิ่งมีแนวความคิดที่ฮึกเหิมมากไปกว่านั้นโดยที่เขาได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของเขาโดยที่ เขาได้กล่าวอ้างให้เหตุผลว่า หมีบางชนิดที่พยายามหาเหยื่อในน้ำก็ได้วิวัฒนาการไปเป็นปลาวาฬในที่สุด
          แต่กระนั้นแนวความคิดทั้งของ  Lamarck และดาร์วินนั้นก็ผิดพลาด ทั้งนี้เนื่องจากแนวความคิดของเขาทั้งสองนั้นไปขัดแย้งกับกฎขั้นพื้นฐานที่สำคัญของชีววิทยา ในสมัยนั้นวิชาพันธุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางด้านเคมีวิทยา ของสิ่งมีชีวิตตลอดจนจุลชีววิทยายังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์เลย กฎแห่งการถ่ายถอดลักษณะทางด้านพันธุกรรมก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันเลยในขณะนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง Lamarck และดาร์วินมีความเชื่อว่าลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมนั้นสามารถถูกถ่ายถอดได้โดยผ่านทางกระแสเลือด  
          เนื่องจากความล้าหลังทางวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น จึงไม่ได้ทำให้สิ่งที่ Lamarck  และดาร์วินคิดขึ้นมาตามจินตนาการดูเป็นสิ่งที่แปลกแต่อย่างใด
          ข้อสมมติฐานของดาร์วินมีผลต่อแวดวงทางวิทยาศาสตร์ในสมัยของเขาเป็นอย่างมาก  แต่อย่างไรก็ตามดาร์วินก็ยังคงมีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่ในหนังสือของเขาในบนที่เขากล่าวถึง ปัญหาทางทฤษฎีการวิวัฒนาการดาร์วินได้กล่าวไว้ว่า
          "ถ้ามีการพิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตนั้นมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนและอวัยวะต่างๆที่ช่วยในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนเหล่านั้นก็มิได้เกิดขึ้นมาตามขั้นตอนและขบวนการวิวัฒนาการ แต่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกันในทีเดียว  ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ทฤษฎีการวิวัฒนาการของดาร์วินเองก็จะต้องพังลงอย่างราบคาบ" (Charles Darwin,The Origin of Species,1st ed ,p.189)
          แต่ความจริงสิ่งที่ดาร์วินกลัวนี้ก็เกิดขึ้นเป็นจริงหลังที่เขาตายไปได้ไม่นาน     จากกฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะทางด้านพันธุกรรมที่ค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรียนั่นคือ Gregor Medel  ก็ทำให้สิ่งที่ทั้ง  Lamarck  และดาร์วินได้กล่าวอ้างยืนยันไว้ต้องจบลง  จากวิทยาศาสตร์ทางด้านพันธุศาสตร์ที่ได้มีการพัฒนามาในช่วงเริ่มต้นแห่งศตวรรษที่20 นี้  ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการถ่ายทอดพันธุกรรมไปยังรุ่นถัดๆไปนั้นมิได้ถ่ายทอดกันโดยผ่านทางลักษณะเฉพาะพิเศษที่ได้รับมาทางด้านร่างกายหากแต่จะถ่ายทอดโดยผ่านทางยีนส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
          จากการค้นพบกฎการสืบพันธุกรรมนี่เองที่ทำให้เป็นที่รู้ชัดเจนว่า ความเชื่อจากการจินตนาการไปเองที่ว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ได้มานั้นได้มาโดยการค่อยๆก่อตัวสะสมกันมาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งและในที่สุดก็ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมา ซึ่งการคิดจิตนาการขึ้นมาเองเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลและไม่น่าเชื่อถือ
          การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่มีความแตกต่างกันโดยผ่านทางพันธุกรรมตามที่ระบบกลไกลการเลือกสรรทางธรรมชาติของดาร์วินได้บอกไว้นั้น เป็นไปไม่ได้เลยและไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นมาเป็นจริงได้ ด้วยเหตุนี้เองทฤษฎีการวิวัฒนาการที่ดาร์วินนำมากล่าวอ้างก็ต้องล่มสลายและจบลงไปในต้นศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานี้เองได้มีความพยายามอุสาหะของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการคนอื่นๆในศตวรรษที่ 20 เพื่อจะพิสูจน์ทฤษฎีนี้ แต่ความจริงแล้วในทางตรงกันข้ามมันมีแต่จะยืนยันความจริงที่ว่าการเลือกสรรทางธรรมชาตินั้นไม่มีมูลเหตุแห่งความเป็นจริงที่จะเกี่ยวข้องกับการวิวัฒนาการแต่อย่างใด
          Colin Patterson  นักชีววิทยาทางด้านพืชและสัตว์โบราณชาวอังกฤษและก็เป็นนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งด้วย  ได้กล่าวยอมรับถึงสิ่งนี้โดยเขาได้กล่าวว่า
          "ไม่มีใครเลยที่จะมีความสามารถที่จะสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นด้วยวิธีการหรือกลไกที่ได้มาจากการเลือกสรรทางธรรมชาติ ไม่มีใครพยายามทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ และข้อถกเถียงที่มีอยู่ในลัทธิดาร์วินสมัยใหม่ในปัจจุบันนี้ ก็สาละวนอยู่กับปัญหาที่หาทางออกไม่ได้นี้" (Colin Patterson, BBC ,Cladistics,4th , March 1982)


          วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 นี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วเช่นกันว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้นมีระบบการทำงานและอวัยวะต่างๆที่มีกลไกการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนและยุ่งยากเป็นอย่างมาก ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปแม้เพียงส่วนเดียวระบบการทำงานทั้งระบบตลอดจนอวัยวะส่วนต่างๆก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ปฏิบัติงานได้เลย นั่นก็หมายความว่าอวัยวะและระบบการทำงานเหล่านั้นจะต้องมีขึ้นมาพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน ลักษณะพิเศษเฉพาะเช่นนี้ซึ่งเรียกว่า  “Irreductible Complexity”  นั้นคือระบบการทำงานของสิ่งมีชีวิตที่ทุกๆส่วนจะต้องเกิดขึ้นมาพร้อมๆกันโดยจะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดเสียมิได้ 
          ลักษณะเฉพาะพิเศษที่กล่าวมาแล้วเช่นนี้เองที่เป็นหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่าองค์ประกอบและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นมาพร้อมๆกันโดยอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
          ความเป็นจริงนี้เองที่ลบล้างคำกล่าวอ้างของพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการได้ลงอย่างเด็ดขาด ที่พวกเขากล่าวอ้างว่าสิ่งมีชีวิตค่อยๆวิวัฒนาการเกิดขึ้นมาโดยการเลือกสรรทางธรรมชาติโดยผ่านขบวนการและขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลา และเมื่อเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ระบบกลไกลของการเลือกสรรทางธรรมชาติของดาร์วินนั้นไม่มีมูลฐานแห่งความเป็นจริงใดๆทางด้านการวิวัฒนาการ  พวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการที่ต้องการให้ทฤษฎีมีอยู่ต่อไปก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางใหม่เป็นการใหญ่ในทางทฤษฎีนี้
          นอกเหนือไปจากแนวความคิดของการเลือกสรรทางธรรมชาตินี้แล้วพวกนักทฤษฎีวิวัฒนาการเหล่านี้ก็คิดค้นระบบกลไกใหม่ขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Mutation หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของยีนส์
          กระบวนการนี้คือการเปลี่ยนแปลงไปหรือการผิดเพี้ยนไปจากรูปเดิมของลักษณะที่มีอยู่ใน DNA ของสิ่งมีชีวิต  โดยส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากผลกระทบภายนอกเช่นกัมมันตภาพรังสีหรือปฏิกิริยาทางเคมี   มาถึงตอนนี้ทฤษฎีการวิวัฒนาการก็ยังมีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่มีความแตกต่างกันไปและมีการพัฒนาการก็ เพราะมีสาเหตุมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน DNA นี้ แต่สิ่งนี้ไม่สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ ทั้งนี้ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้จะยังแต่จะให้เกิดผลเสียต่อระบบข้อมูลใน DNA นี้เพียงอย่างเดียว และก็มีแต่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตด้วย จากการทดลองที่กระทำกันทั้งในห้องแลบและตามธรรมชาติก็ไม่เคยพบว่าการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดผลดีขึ้นตามมา ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นที่ว่านี้นั้นจะไม่ช่วยทำให้เกิดข้อมูลใหม่ทางพันธุกรรม  ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่สิ่งมีชีวิตจะมีอวัยวะใหม่ขึ้นมาได้โดยผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเช่นที่ว่านี้ ไม่มีสัตว์เลื้อยคลานตัวไหนสามารถมีปีกได้และสิ่งมีชีวิตที่ไร้ดวงตาก็ไม่สามารถมีตาขึ้นมาเองได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนั้น
          หลายทศวรรษด้วยกันที่นักทฤษฎีการวิวัฒนาการได้ลองนำสิ่งที่มีชีวิตไปทดลองโดยการให้สัมผัสกับกัมมันตภาพรังสีและสารเคมีทั้งนี้ก็เพื่อหวังที่จะได้การเปลี่ยนแปลงที่มีผลในทางบวกขึ้น แต่แล้วพวกเขาก็ต้องจบลงด้วยกับการได้มาซึ่งสิ่งมีชีวิตที่พิการบกพร่องไม่สมบูรณ์และยังเป็นหมัน
          มีการทดลองนับครั้งไม่ถ้วนที่ทำกับแมลงวันผลไม้และมันแสดงให้เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใดแล้วยังจะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตนั้นอีกด้วย
          การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน DNA เช่นนั้นจะเป็นตัวไปก่อกวนรหัสทางพันธุกรรมที่ถูกจัดวางไว้เป็นอย่างดี และก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตกลับกลายสภาพไปสู่สิ่งที่น่าแปลกประหลาดทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความพิการและความบกพร่องดังที่ได้กล่าวมา
          นั้นคือสาเหตุที่ว่าทำไมศาสตราจารย์  Richard Dawkins  ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีการวิวัฒนาการผู้เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต้องแสดงความลังเลออกมาเมื่อถูกขอให้ยกมาซักตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเช่นที่ว่านั้นที่จะไปช่วยเพิ่มข้อมูลทางพันธุกรรมให้ดีขึ้นมา
          ผู้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ Dawkins ถามว่า:  ช่วยยกมาสักตัวอย่างหนึ่งได้ไหมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรมหรือขั้นตอนทางด้านการวิวัฒนาการที่ทำให้เราเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นจะไปช่วยเพิ่มข้อมูลให้กับหน่วยทางพันธุกรรมได้? แต่ศาสตราจารย์  Richard Dawkins ก็นิ่ง ไม่สามารถที่จะตอบ
  ดาวน์โหลดเอกสาร : http://www.4shared.com/document/gKQYWOFd/_online.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น