วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ความวุ่นวายของกระบวนการผ่าเหล่า ( Mutation)


แปลและเรียบเรียง: อิบบินอุม
          การผ่าเหล่า (Mutation) คือกระบวนการที่ส่งผลเสียต่อระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตอันเนื่องมาจากผลของสารกัมมันตรังสีหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย (ซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นหลัก) ผลของกระบวนการผ่าเหล่านี้ จะไปทำลายโครงสร้างนิวคลีโอไทด์ (nucleotides) ที่เป็นองค์ประกอบของ ดีเอ็นเอ หรือไม่ก็ทำให้มันเลื่อนตำแหน่งไป แทนที่จะอยู่ในที่ที่เหมาะสม กระบวนการเหล่านี้จะส่งผลแปลกประหลาดต่อระบบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตยากเกินกว่าที่ร่างกายจะซ่อมแซมได้
          ผลกระทบที่เกิดจากการผ่าเหล่าอาจจะมากกว่าจินตนาการของใครอีกหลายๆคน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ หลังเหตุการณ์การทิ้งระเบิดกัมมันตรังสีที่เมืองฮิโรชิมะ,นางาซากิ หรือเหตุการณ์ระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองเชอร์โนบิล เมื่อหลายสิบปีก่อน ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร มนุษย์หลายคนต้องจบชีวิตด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ก็พิการทุพพลภาพไป มิหนำซ้ำความผิดประหลาดของโครงสร้างร่างกายยังส่งต่อไปทางสายพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นอีก นี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างบางส่วนจากผลของการผ่าเหล่าซึ่งเป็นเครื่องมือของการเกิดสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก ดังที่นักวิวัฒนาการต่างยอมรับอย่างเต็มภาคภูมิ!
นาย  B.G. Ranganathan นักพันธุศาสตร์อเมริกัน กล่าวไว้ว่า :
          ประการแรก การผ่าเหล่าที่ปรารถนา ในธรรมชาติเกิดได้ช้ามาก,ประการที่สอง การผ่าเหล่าโดยส่วนใหญ่จะส่งผลเสียมากกว่าการจัดระเบียบภายในโครงสร้างยีนของสิ่งมีชีวิต กระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างไร้ทิศทางนี้ รังจะทำให้การจัดระบบของสิ่งมีชีวิตย้ำแย่ลง และไม่มีวันดีขึ้นเลย ซึ่งความน่าจะเป็นที่การผ่าเหล่าสามารถสร้างผลดีต่อสิ่งมีชีวิต เปรียบเสมือน ความน่าจะเป็นที่การเกิดแผ่นดินไหว สามารถจัดระเบียบอาคารบ้านเรือนได้ ( B. G. Ranganathan, Origins?, Pennsylvania: The Banner Of Truth Trust, 1988.)
          ไม่เคยการทดลองใดเลยที่แสดงประโยชน์จากผลการผ่าเหล่า กลับกันผลแห่งความหายนะกลับพบได้โดยทั่วไป ดั่งเช่นผลที่เกิดจากการระเบิดนิวเคลียร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาย Warren Weaver นักวิวัฒนาการ และนักวิทยาศาสตร์ในกล่าวไว้ในเอกสารรายงานการประชุมหัวข้อ ผลกระทบของรังสีอะตอมต่อระบบพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต (the Committee on Genetic Effects of Atomic Radiation):
          ผลของการกระทำดังกล่าว สามารถสร้างความเสียหาย จนเกิดการผ่าเหล่าของยีน ถึงแม้ว่าการผ่าเหล่าเป็นกลไกที่อธิบายกระบวนการเกิดวิวัฒนาการ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามมันไม่มีอะไรดีต่อรูปลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตเลย (Warren Weaver, "Genetic Effects of Atomic Radiation," Science, Vol. 123, June 29, 1956, p. 1159)
          การผ่าเหล่าที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกกรณีล้วนสร้างแต่ความเสียหาย และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่แปลกประหลาด ศาสตร์ทางการแพทย์ได้ให้ตัวอย่างโรคที่เกิดจากผลของการผ่าเหล่า ไม่ว่าจะเป็นโรคมองโกลิซึม (mongolism: ภาวะที่ลักษณะใบหน้าคล้ายกับพวกมองโกลคือกะโหลกศรีษะกว้าง ตาหยี่ และระดับสติปัญญาต่ำ), ดาว์นซินโดรม ( Down Syndrome), ลำตัวแคระ (albinism), โรคผิวเผือก ( albinism),โรคโลหิตจาง (sickle cell anemia) หรือมีเป็นโรคที่อยู่ในเครือของมะเร็ง เป็นต้น กระบวนการผ่าเหล่านี้ไม่อาจที่จะเป็นกลไกการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้
          นาย David Demick นักพยาธิวิทยาชาวอเมริกัน ได้เขียนเอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับการผ่าเหล่ไว้ว่า:
          จำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากการผ่าเหล่าในพันธุกรรม ปัจจุบันมีหลายพันคน และยังคงเพิ่มจำนวนไปเรื่อยๆ จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า จำนวนโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรมอันเนื่องมาจากผลการผ่าเหล่านี้ มีมากกว่า 4,500 โรค ซึ่งมีหลายโรค สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน จนกลายเป็นโรคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
          จำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากการผ่าเหล่า ทั้งหมดล้วนเกิดโรคที่แปลกประหลาด ซึ่งไม่มีกรณีไหน ที่แสดงถึงผลเชิงบวกจากกระบวนการนี้เลย ความจริงแล้ว การผ่าเหล่าสามารถเกิดผลดีได้ หากสามารถพิสูจน์วิวัฒนาการเป็นเรื่องจริง เราไม่ต้องการเพียงคำตอบ วิวัฒนาการสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่เราต้องการเพิ่มไปอีกว่า จะทำอย่างไรเพื่อขจัดผลเสียจากการผ่าเหล่าไป ซึ่ง ณ ขณะนี้ นักวิวัฒนาการก็ยังคงอยู่ในภาวะเงียบงัน... ( David Demick, "The Blind Gunman," Impact, No. 308, February 1999.)
           
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น